ขนาดตัวอักษร มาตรฐานงานป้าย
การกำหนด ขนาดตัวอักษร มักเป็นปัญหาในการสั่งผลิตงานป้าย หากเราไม่ทำความเข้าใจก่อนเราอาจจะได้ป้ายที่มี ขนาดตัวอักษร ไม่เหมาะสมหรือไม่ได้สัดส่วนกันอยู่บ่อยครั้ง เราจึงทำบทความเพื่อให้เป็นแนวทางในการสั่งผลิตป้ายต่างๆ ไม่ใช่เพียงแต่ป้ายบริษัท แต่ยังรวมไปถึงป้ายหน้าร้าน หรือ ป้ายขออนุญาติ อย. อีกด้วย วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันในบทความนี้นะค่ะ
การเลือก ขนาดตัวอักษร แบบมาตรฐานสำหรับทำป้ายส่วนใหญ่ มักจะแจ้งทางร้านเพื่อกำหนดความสูงของตัวอักษรตามที่เราอยากได้ แต่ทำไมเวลาป้ายออกมาตัวอักษรมันยาวแปลกๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับการสั่งทำป้าย ถึงจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่ว่าทำให้ป้ายของเราออกมาไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้ ดังนั้นเราควรจะต้องทำความเข้าใจการขนาดตัวอักษรของป้ายเราเพื่องานป้ายจะได้ออกมาอย่างถูกต้อง นั้นเอง
เมื่อสั่งป้าย 45x20 ซม. ขนาดตัวอักษร สูง 8 ซม.
จะเห็นได้ว่า ขนาดตัวอักษร จะถูกยืดขึ้นเพื่อให้ได้ขนาดความสูงตามที่ต้องการ (8 ซม.) ทำให้สัดส่วนของตัวอักษรดูเพี้ยนๆ ไปทำให้ป้ายออกมาดูไม่สวยงาม ซึ่งในการสั่งทำจะต้องดูความสูงของตัวอักษรให้สอดคล้องกับขนาดป้ายด้วย ดังนั้น เราจะมาแนะนำการกำหนดตัวอักษรให้ได้ตามอัตราส่วนที่สวยงามกัน
กำหนด ขนาดตัวอักษร บนป้ายด้วยจำนวนตัวอักษร
แน่นอนว่า เราอยากได้ขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ และตรงตามมาตรฐาน แต่หากเราไม่ทำความเข้าใจสัดส่วน หรือ อัตราส่วนมาตรฐานของขนาดตัวอักษร อาจจะทำให้การป้ายของเราออกมาโดยตัวอักษรจะยืดๆ หดๆ หรือ ฟ้อนไม่ได้อัตราส่วน ซึ่งเราจะเรียกว่า รุปแบบฟ้อนไม่ได้มาตรฐาน นั้นเอง
การแจ้งขนาดของฟ้อนโดยไม่ได้คำนวนขนาดของป้าย อาจจะเป็นปัญหาเล็กๆ ที่อาจจะทำให้เป็นปัญหาใหญ่ จะเกิดขึ้นเมื่อป้ายของเราสั่งทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่าข้อความบนป้ายจะมีผลต่อขนาดป้ายเป็นอย่างมาก หากเรามีข้อความยาว อาจจะต้องขยายขนาดของป้ายให้ยาวตามข้อความที่เราต้องการ ดังนั้น หากเรามีข้อความที่ยาวควรจะต้องประเมิณขนาดของป้ายง่ายๆ ก่อน
ถ้าอยากรู้ขนาดของข้อความ ที่ความสูงของตัวอักษรคือ 2 ซม. จะยาวเท่าไหร่ ซึ่งเรามีหลักการง่ายในการคำนวนคือ นับตัวอักษรที่ต้องการแล้ว x ด้วยความสูงที่เราต้องการ
เช่น ข้อความ “สถานที่เก็บรักษาเครื่องมือแพทย์”
ข้อความนี้จะมีจำนวน 23 ตัว
อยากได้ความสูง 5 ซม.
ดังนั้น ข้อความของเราจะยาว = 23 ตัว x 5 ซม.= 115 ซม
จะเห็นได้ว่า ป้ายที่ข้อความนี้ตามอัตราส่วนจะต้องไม่ยาวไม่น้อยกว่า 115 ซม. นั่นเอง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราคงไม่อยากที่จะได้ป้ายขนาดยาวมากๆ เพราะ ทำให้ราคาสูงขึ้น และหาจุดติดตั้งได้ยาก การทำป้ายของร้านอะคริลิคโดยทั่วไปจะมีการปรับอัตราส่วนให้ไม่ยาวจนเกินไป โดยส่วนใหญ่จะปรับขนาดความกว้างลดลงประมาณ 30-50% ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของป้าย เช่น
ขนาดป้ายมาตรฐาน 115 ซม. ปรับลดลง 40% = 69 ซม
ซึ่งจะเป็นขนาดมาตรฐานที่นิยมใช้ขนาดนี้กัน
แต่ถ้าหากเราต้องการให้ขนาดของป้ายกว้าง 45 ซม. จะทำให้ตัวอักษรแคบลง หรือ ถ้าพูดกันให้เข้าใจก็คือ ตัวอักษรถูกบีบให้ลีบลง ลองดูตัวอย่างกันค่ะ
จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า ข้อความเดียวกัน รุปแบบของตัวอักษร (ฟ้อน) ที่เหมือนกัน หากเรากำหนดขนาดของป้ายให้มีขนาดความกว้างที่ไม่เท่ากัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ตัวอักษรจะไม่ได้มาตรฐาน และไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง
แบบด้านบน เป็นแบบที่ใช้ฟ้อนมาตรฐานขนาดของตัวอักษรสูง 5 ซม. จะเห็นได้ว่าข้อความจะค่อนข้างยาวเมื่อนำไปใส่ลงไปในป้ายทำให้ป้ายมีขนาดยาวถึง 117 ซม. ซึ่งอาจจะยาวเกินไป ในลักษณะนี้ โดยทั้วไปจะทำการปรับขนาดความกว้างเข้ามาประมาณ 40% จึงทำให้ฟ้อนหรือตัวอักษรมีการบีบตัวทำให้ตัวอักษรมีความสูงเท่าเดิมแต่แคบลง ซึ่งยังคงสามารถนำมาใช้งานได้เพราะสัดส่วนไม่ได้ผิดรูปไปมากนัก ดังนั้น ขนาด 70×20 ซม. จึงเป็นขนาดที่เหมาะสมและมีการบีบตัวอักษรได้โดยที่สัดส่วนไม่เพี้ยนไปมากนัก
หากลองมาดูรูปสุดท้าย เมื่อลูกค้าสั่งมาว่า ต้องการป้าย 45 ซม. นั้นคือ เราจะต้องทำการบีบตัวอักษรให้มีขนาดบางลง กล่าวคือ ให้ความสูงเท่าเดิมคือ 5 ซม. แต่ความกว้างลดลง ทำให้ตัวอักษรมีการยืดขึ้นสูงจนเห็นได้ชัด ถามว่า แบบนี้ใช้งานได้มั้ย ก็ต้องบอกแบบนี้นะ ว่าทางร้านสามารถผลิตให้ได้ แต่การนำไปใช้งานเพื่อขออนุญาตินั้น อาจจะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ว่าจะให้ผ่านได้หรือไม่นะ
ตัวอย่าง ขนาดตัวอักษร ที่เหมาะสม
รู้จักป้ายหน้าสถานประกอบการ
ข้อกำหนดของป้ายต่างๆ
ก่อนอื่นเรามารู้จักข้อกำหนดของป้ายกันก่อน โดยปกติแล้วการยื่นขออนุญาตจะต้องมีการจัดทำป้ายและติดตั้งป้ายบริเวณหน้าสถานประกอบการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ โดยหลักๆ ข้อกำหนดจะมี 3 ปัจจัย ดังนี้
- ป้ายจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง พื้นของป้ายควรเป็นสีเข้ม โดยขนาดป้ายไม่น้อยกว่า 45×15 ซม. หรือ 70×20 ซม.
- ตัวอักษรจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 5 ซม.
- ตัวอักษรจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 0.5 ซม.
จากข้อกำหนดจะเห็นได้ว่าขนาดป้ายจะมีด้วยกัน 2 ขนาด ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งาน โดยส่วนใหญ่ขนาดที่ได้รับความนิยมคือขนาด 70×20 ซม. ซึ่งจะได้ขนาดตัวอักษรที่ตรงตามข้อกำหนด รวมทั้งยังมีสัดส่วนของตัวอักษรมีขนาดที่เหมาะสมทั้งความสูงและความกว้าง อีกด้วย
แต่ถ้าหากเราเลือกใช้ป้ายขนาด 45×15 ซม. สัดส่วนของตัวอักษรจะไม่สามารถอยู่ในขนาดความกว้าง 45 ซม. ได้ จึงต้องใช้วิธียืดตัวอักษรให้สูงขึ้นจนถึงขนาดที่ต้องการ จึงทำให้เรามักจะเห็นตัวอักษรสูงกว่าปกติ
TIP : คู่มือเลือกฟ้อนสวยๆ สำหรับตัวอักษรอะคริลิค
จะเห็นได้ว่า ป้ายขนาด 45×15 ซม. สามารถผลิตได้ตรงตามข้อกำหนดเพียง 2 ข้อ คือ ขนาดป้ายไม่น้อยกว่า 45×15 ซม. และ ตัวอักษรจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 5 ซม.
แต่ข้อ 3 ที่ข้อกำหนดระบุไว้ว่า ความหนาของตัวอักษรจะต้องไม่น้อยกว่า 0.5 ซม. ซึ่งถ้าดูจากขนาดความหนาตัวอักษรบนป้ายนี้จะหนาเพียง 0.3 ซม. เท่านั้น ทำให้สำหรับข้อความ “สถานที่นำเข้าเครื่องมือแพทย์” ยังไม่ตรงตามข้อกำหนดซะทีเดียว
ดังนั้น การทำป้ายสำหรับข้อความ “ห้ามนำเข้าเครื่องมือแพทย์” จะมีจำนวนตัวอักษร 21 ตัว เมื่อนำมาคำนวนแล้วจะได้ขนาด 70×20 ซม. ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมและได้รับความนิยมสูงสุด เป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก และราคาไม่แพงมากนัก
สรุป
การทำป้ายให้ตรงตามข้อกำหนด จะต้องคำนึงถึงจำนวนตัวอักษรที่ใส่บนป้ายด้วย หากข้อความยาว จะทำให้ป้ายยาวไปด้วย ซึ่งข้อกำหนดจะเป็นการกำหนดมาตรฐานให้ป้ายที่นำไปใช้งานได้จริง สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและมองเห็นได้จากระยะไกล ดังนั้น หากเราจะทำไปใช้งานจริงควรจะต้องประเมิณขนาดให้เหมาะสมกับข้อความที่จะใส่ลงบนป้าย หรือหากต้องการคำแนะนำในเรื่องขนาด สามารถติดต่อเราได้เลยค่ะ
สำหรับการยื่นขออนุญาต ทางร้านจะไม่ได้ยืนยันว่าการทำป้ายจะผ่านตามข้อกำหนดอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งบางครั้ง อาจจะไม่จำเป็นต้องตรงตามข้อกำหนด 100% เพียงแค่ทำป้ายให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน เลือกใช้ตัวอักษรขนาดที่เหมาะสม มองเห็นได้ในระยะไกล เท่านั้นก็เพียงพอ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเจ้าหน้าที่ของพื้นที่นั้น ด้วยนะค่ะ