ออกแบบป้ายบริษัท ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
การ ออกแบบป้ายบริษัท มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ การออกแบบที่ดีจะต้องสอดคล้องกับการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน ที่สำคัญจะต้องมีความสวยงาม และตรงตามข้อกำหนด เพื่อที่จะได้นำไปใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด
ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ ส่วนประกอบและแนวทางการออกแบบป้ายบริษัท โดยละเอียด รวมไปถึงการจัดวางองค์ประกอบบนป้ายให้สวยงามและนำไปใช้งานได้อย่างมีประโยชน์ที่สุด
ออกแบบป้ายให้ตรงตามข้อกำหนด
การออกแบบป้ายบริษัท สำหรับการจดทะเบียนบริษัทใหม่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีข้อกำหนดให้ สถานที่ประกอบการต้องมีป้ายแสดงชื่อบริษัทติดไว้อย่างชัดเจน โดยให้มีการติดตั้งป้ายด้านหน้า ณ.สถานประกอบการที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ตั้งบริษัทตามทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
- ต้องมีป้ายที่ใช้วัสดุที่แข็งแรง ติดตั้งจริงที่สถานที่จดทะเบียน
- ข้อความ หรือ ชื่อบริษัทบนป้ายจะต้องตรงกับชื่อที่ขอยื่นจดทะเบียน
- ข้อความบนป้ายจะต้องมองเห็นได้ชัดเจน
เตรียมความพร้อมสำหรับการออกแบบป้าย
ก่อนจะสั่งผลิตป้ายเราควรจะต้องศึกษาถึงส่วนประกอบบนป้ายที่ควรจะต้องมี รวมทั้งควรเตรียมส่วนที่จำเป็นเพื่อใช้ในการออกแบบหรือสั่งทำป้าย มีอะไรบ้าง
รูปโลโก้บริษัท
หากต้องการใส่โลโก้บริษัทลงบนป้าย เราจะต้องมีไฟล์ต้นฉบับที่สามารถนำไปใช้ต่อได้หากต้องเป็นงานผลิตป้ายแบบงานตัวอักษรนูน จำเป็นจะต้องใช้ไฟล์ที่มีนามสกุล Ai เท่านั้น แต่ถ้าหากใช้เป็นงานพิมพ์ ก็อาจจะใช้เป็นไฟล์ที่มีความละเอียดสูง เช่น AI , PDF, PSD เป็นต้น
การออกแบบโลโก้เราสามารถใช้โปรแกรมพื้นฐาน เช่น Canva, Adobe Illustrator เป็นต้น หรือ หากต้องการให้โลโก้มีความเป็นมืออาชีพ อาจจะจ้างนักออกแบบ หรือ ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Fastwork เป็นต้น
ข้อความบนป้าย
การใส่ชื่อบริษัท จะต้องแจ้งข้อมูลชื่อบริษัททั้ง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ให้ครบถ้วน หากต้องการจะเพิ่มที่อยู่ ก็จะต้องแจ้งให้ทราบตั้งแต่แรก เพื่อที่จะได้คำนวนพื้นที่บนป้ายให้เหมาะสมกับข้อความที่จะใส่ลงไป ซึ่ง ข้อมูลที่ถูกต้องนั้น สามารถตรวจสอบได้จาก หนังสือรับรอง หรือ เวปไซต์ www.dataforthai.com เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
ตัวอย่างป้ายที่ต้องการ
การออกแบบป้าย ไม่จำเป็นต้องจ้างออกแบบหรือเสียค่าใช้จ่ายเลย ถ้าหากเราสามารถดูรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธุรกิจของเรา หรือ รูปแบบที่เราสนใจ ก็สามารถส่งภาพตัวอย่างเพื่อเป็นต้นแบบในการทำป้าย ซึ่งเรามีรูปการออกแบบป้ายบริษัทมากมาย หลากหลายรูปแบบมาให้เลือกชม .. ป้ายบริษัทสวยๆ
รูปทรงและขนาดที่เหมาะสม
แบบที่ 1 รูปทรงจัตุรัส
แบบรูปทรง จัตุรัส จะเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมที่มีขนาดกว้างxยาว เท่าๆ กัน มักจะเป็นป้ายในรูปแบบป้ายโลโก้ซะส่วนใหญ่ ขนาดที่ได้รับความนิยมคือขนาด 45×45 cm ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป เหมาะกับการนำมาตกแต่ง หรือติดบริเวณด้านหน้าสถานที่
แบบที่ 2 ทรงสี่เหลี่ยมผื่นผ้า
แบบรูปทรงสี่เหลี่ยมผื่นผ้า เป็นแบบที่เน้นการแสดงโลโก้หรือสัญลักษณ์ของบริษัท สามารถเพิ่มข้อความเป็นชื่อบริษัท ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดที่ได้รับความนิยมคือ 60×35 cm การออกแบบสามารถเลือกวางได้หลากหลาย บางครั้งอาจจะเน้นโลโก้อยู่กึ่งกลางขนาดใหญ่ ส่วนชื่อบริษัทอาจจะติดบริเวณด้นบนหรือด้านล่าง ขึ้นอยู่กับความชอบเลยจร้า หรือ หากอยากดูรูปแบบอื่นๆ ก็ติดต่อทักมาถามเราได้นะค่ะ
แบบที่ 3 ทรงแนวนอน
รูปทรง แนวนอน เป็นป้ายที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะ มีรูปทรงยาวการวางตัวอักษรที่เป็นข้อความทางยาวจะทำให้ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ รูปทรงนี้ สามารถใส่โลโก้ด้านซ้ายและข้อความที่เป็นชื่อบริษัททางด้านขวาก็ได้เช่นกัน ขนาดที่ได้รับความนิยมคือ 70×20 cm หากต้องการจะเพิ่มที่อยู่ก็ทำได้ แต่อาจจะต้องเพิ่มขนาดความสูงของป้ายขึ้นไปอีกประมาณ 5-10 cm จะทำให้ป้ายมีขนาด 70×25 cm ซึ่งจะเป็นขนาดที่เหมาะสมและข้อความบนป้ายไม่อึดอัดจนเกินไป
นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับ ขนาดตัวอักษรบนป้าย ซึ่งหากข้อความบนป้ายมีจำนวนตัวอักษรมากจะมีผลต่อความยาวมีผลต่อขนาดป้ายโดยรวม เช่น หากข้อความหรือชื่อบริษัทมีความยาวมากๆ จะทำให้ตัวอักษรมีขนาดเล็กลงซึ่งจะเป็นไปตามอัตราส่วนของตั้วอักษร อ่านต่อ…ขนาดตัวอักษร สำหรับงานป้าย
รูปแบบการจัดวางป้ายบริษัท
เมื่อเราเลือกรูปทรงแล้วคราวนี้เราก็จะต้องมีดูรายละเอียดในการจัดวางแบบเพื่อให้ป้ายของเรามีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน มีรูปแบบไหนบ้างมาดูกันเลยค่ะ
ป้ายแบบไม่มีโลโก้
รูปแบบแรกจะเป็นแบบมาตรฐานที่มีความเรียบง่ายที่สุด รูปแบบนี้มักจะไม่นิยมนำโลโก้เข้ามรใช้งาน จะมีเพียงข้อความที่เป็นชื่อบริษัทภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่บนป้ายอาจจะมีการเลือกสีตัวอักษรให้โดดเด่นเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับป้าย ป้ายรูปแบบนี้มักจะใช้ขนาด 70×20 เซนติเมตร หรือ ขนาด 80×20 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ได้มาตรฐาน ไม่เล็กจนเกินไปและข้อความบนป้ายจะมองเห็นได้ชัดในระยะไกล
ขนาดของตัวอักษรก็จะขึ้นอยู่กับความยาวของแต่ละบริษัท หากชื่อบริษัทยาวจะทำให้ข้อความหรือตัวอักษรบนป้ายมีขนาดเล็กลง ตามอัตราส่วน ดังนั้นเราจะต้องพิจารณาเรื่องขนาดป้ายให้เหมาะสมกับตัวข้อความของเราด้วย จะทำให้ป้ายเรามีอัตราส่วนที่เหมาะสม นั่นเอง
หากเราต้องการใส่ข้อความที่เป็นบ้านเลขที่ พร้อมที่อยู่บริเวณด้านล่างของป้าย ซึ่งหากเป็นรูปทรงแนวนอน เราอาจจะต้องเพิ่มขนาดความสูงของป้ายประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับใส่ข้อความที่อยู่ของเรา เช่น จากเดิมแบบไม่มีที่อยู่ขนาด 70×20 เซนติเมตร อาจจะต้องปรับเป็นขนาด 70×25 เซนติเมตร จะทำให้ป้ายของเรามีอัตราส่วนที่เเหมาะสมนั่นเอง
นอกจากนี้เราอาจจะต้องระวังในส่วนของข้อความที่อยู่ด้านล่างจะทับซ้อนกับตำแหน่งที่ใช้ในการติดตั้ง ในรูปแบบน็อตลอย ซึ่งจะทำให้ตัวอักษรหรือข้อความอยู่ในตำแหน่งที่เจาะรูพอดี ซึ่งเราอาจจะต้องแจ้งกับทางร้านป้ายว่าเราต้องการเจาะรูหรือใช้วิธีติดตั้งแบบใด เพื่อป้องกันปัญหาการติดตั้งที่อาจจะเกิดขึ้น นั่นเอง
แบบโลโก้ด้านซ้าย
การออกแบบโลโก้ให้อยู่ทางด้านซ้ายมือของป้าย มักจะนิยมใช้ขนาดหรือรูปทรงแนวนอน เพราะจะทำให้ข้อความและโลโก้วางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่มีพื้นที่ว่างบนป้ายมากจนเกินไป ทำให้ตัวป้ายมีข้อความที่พอดีกับตัวป้าย ทำให้ดูสวยงามและเหมาะสมในการใช้งาน และเป็นแบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
แบบโลโก้ Center
รูปแบบนี้จะมีการจัดวางโลโก้ให้อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของป้ายพอดี แต่เนื่องจาก ขนาดของโลโก้จะต้องใหญ่พอเพื่อให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้จะต้องมีการปรับขนาดป้ายให้สูงขึ้นเพื่อรองรับขนาดของโลโก้ที่ใหญ่มากพอ โดยทั่วไปแล้วหากเราวางโลโก้ตำแหน่งกึ่งกลางนั้น เรามักจะใช้เป็นรูปแบบทรงผืนผ้า โดยมักจะนิยมใช้อยู่ 3 ขนาด คือ
- ขนาด 60×35 เซนติเมตร
- ขนาด 80×40 เซนติเมตร
- ขนาด 100×50 เซนติเมตร
ทั้งนี้ การเลือกขนาดจะขึ้นอยู่กับภาพรวมของป้ายที่ประกอบด้วยโลโก้และจำนวนตัวอักษรหรือข้อความบนป้าย ซึ่งร้านที่รับทำป้ายที่มีความเชี่ยวชาญจะสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำขนาดที่เหมาะสมกับป้ายของเรา ที่สำคัญควรที่จะหาร้านทำป้ายที่มีการส่งแบบให้ยืนยันก่อนผลิตเพื่อให้เรามั่นใจว่าป้ายของเราจะสวยงามตามที่เราต้องการ
สรุป
การออกแบบป้ายบริษัท ควรจะต้องตรียมความพร้อมเพื่อใช้ในการออกแบบป้าย ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญต่างๆ เช่น รูปโลโก้บริษัท , ข้อความบนป้าย หรือ ตัวอย่างป้ายในรูปแบบที่ต้องการ นอกจากนี้จะต้องเลือกรูปทรงป้ายและขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีทั้งแบบรูปทรง จัตุรัส, ทรงสี่เหลี่ยมผื่นผ้า หรือ รูปทรงแนวนอน ที่เป็นแบบที่ได้รับความนิยมที่สุด การจัดวางรูปแบบ ป้ายบริษัท ควรเลือกดูส่วนประกอบที่จะใส่ลงบนป้ายให้เหมาะสม ป้ายแบบมีโลโก้ หรือ ไม่มีโลโก้ ต้องการใส่ที่อยุ่ด้วยหรือไม่ รายละเอียดต่างๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบว่ารูปทรงจะออกมาเป็นแบบไหน จะเห็นได้ว่าการออกแบบเป็นสิ่งที่สำคัญควรที่จะให้ทีมงานที่มีคุณภาพ หรือร้านที่มีควาามเชียวชาญเพื่อให้คำปรึกษาก่อนผลิต และที่สำคัญควรหาร้านป้ายที่มีการส่งแบบให้ยืนยันก่อนผลิต เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น นั่นเอง