สั่งทำป้าย ยังไงให้ตรงตามความต้องการ

สั่งทำป้าย ยังไง

สั่งทำป้าย ให้สวยถูกใจ

            การ สั่งทำป้าย ทุกชนิด ล้วนจะใช้หลักการหรือขั้นตอนการสั่งผลิตคล้ายคลึงกัน ซึ่งเราไม่ใช่ผู้ที่อยุ่ในวงการป้าย ดังนั้น การสั่งทำป้าย ย่อมเป็นเรื่องที่ปวดหัวอย่างแน่นอน ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีสั่งป้ายให้ถูกหลักและทำให้ทางร้านทำป้ายสามารถประเมิณราคาได้อย่างชัดเจน และรวดเร็ว

            การทำป้ายตามสั่ง เราจะมีขั้นตอนของการกำหนดขนาดและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งในที่นี่เราจะพูดถึงวัสดุอะคริลิค ที่นิยมนำมาใช้งานป้ายกันมากที่สุด เพราะด้วยราคาที่ย่อมเยา งานที่ผลิตได้อย่างรวดเร็ว ทนทาน และใช้งานได้ทุกรูปแบบ ทุกองค์กร นั้นเอง

          ก่อนอื่นเราต้องรู้จักปัจจัยในการเลือกสั่งผลิตป้ายให้สวยและถูกใจเรา เพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง เรามุ่งเน้นให้ผู้ที่กำลังสนใจจะสั่งทำป้ายต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในธุรกิจของคุณ มีขั้นตอนง่ายเพียง 5 ขั้นตอน เท่านั้น มีอะไรบ้างเรามาชมกันครับ

1. เลือกขนาดของป้าย ให้เหมาะสม

สั่งทำป้าย

การเลือกขนาดของป้ายสั่งทำ ให้เหมาะสม

แน่นอนว่าขนาดของป้าย คงไม่มีใครตอบได้เท่ากับตัวเราเอง ดังนั้นเราจะต้องทำการกำหนดขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่สำหรับติดตั้ง โดยขนาดที่นิยมนำมาใช้งานนั้นจะมีขนาด 70×20 cm และ 80×25 cm ซึ่งเป็นขนาดที่ทำให้ตัวอักษรสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าหากต้องการขนาดอื่นๆ เราก็ทำให้ได้ เช่น

ป้ายขนาด : 120×20 cm, 120x25cm, 120x30cm, 120x40cm, 120x50cm, 120x60cm 120×80 cm

ป้ายขนาด : 100x20cm,100x25cm, 100x30cm, 100x40cm, 100x50cm, 100x60cm 100×80 cm

ป้ายขนาด : 90×20 cm, 90x25cm, 90x30cm, 90x40cm, 90x50cm, 90x60cm 90×80 cm

ป้ายขนาด : 80×20 cm, 80x25cm, 80x30cm, 80x40cm, 80x50cm, 80x60cm 80×80 cm

ป้ายขนาด : 70x10cm, 70×20 cm, 70x25cm, 70x30cm, 70x40cm, 70x50cm, 70x60cm 70×70 cm

ป้ายขนาด : 60x10cm,60x15cm, 60×20 cm, 60x25cm, 60x30cm, 60x40cm,60x50cm, 60x60cm

ป้ายขนาด : 50x10cm, 50x15cm, 50×20 cm, 50x25cm, 50x30cm, 50x40cm,50x50cm

ไม่เล็กจนเกินไป แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนข้อความและขนาดของตัวอักษร โดยส่วนใหญ่การสั่งทำป้าย ต่างๆ เช่น ป้ายติดหน้าบ้าน หรือ ป้ายขออนุญาติต่างๆ จะต้องมีข้อความบนป้ายแตกต่างกัน โดยขนาดที่เหมาะสมจะต้องขึ้นอยู่จำนวนบรรทัด เช่น

  • แบบข้อความ บรรทัดเดียว ขนาดตัวอักษรประมาณ 3-5 cm ขนาดของป้ายก็มักจะมีความสูงประมาณ 10-20 cm ก็เพียงพอ
  • แบบข้อความ สอง บรรทัด อาจจะต้องมีความสูงของป้ายเพิ่มขึ้นอีกเล็กหน่อย โดยส่วนใหญ่จะเหมาะกับป้ายบริษัท ซึ่งขนาดจะต้องสอดคล้องกับความยาวของป้าย ซึ่งเรามักจะใช้ขนาด 70×20 cm ขึ้นไป
  • แบบข้อความ สาม บรรทัด เป็นไปได้ว่า ข้อความบนป้าย นอกจากจะเป็นชื่อบริษัท ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษแล้วยังสามารถใส่ที่อยู่ลงบนป้ายได้อีกด้วย โดยเราอาจจะต้องเพิ่มขนาดจากเดิม 70×20 cm เป็น 70×25 cm โดยจะปรับขนาดความสูงขึ้นมาอีก 5 cm นั้นเอง

       การสั่งทำ ป้ายอะคริลิค ควรจะต้องแจ้งขนาดโดยใช้หน่วยเป็นเซนติเมตรจะดีที่สุด และขนาดของป้ายจะไม่ควรใหญ่เกิน 120×80 cm ซึ่งขนาดมาตรฐานที่นิยมหากต้องการป้ายที่ใหญ่กว่านี้อาจจะลองดูวัสดุที่เหมาะสม เช่น พลาสวูด หรืองานไม้จะดีกว่า

เรามีตัวอย่างป้ายสั่งทำอีกมากมาย

ชมตัวอย่างป้ายสวยๆ ได้ที่นี่

2. เลือกรูปแบบงานผลิต

การเลือกรูปแบบงานผลิต

รูปแบบการผลิต ถือว่าเป็นขั้นตอนในการเลือกกรรมวิธีในการผลิตหรือสั่งทำป้ายแบบต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไป เรามักจะไม่รู้เลยว่าการทำป้ายมีกี่รูปแบบ แต่ละแบบเหมาะสมกับการใช้งานอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วเราก็มักจะพิจารณากันที่ราคากันก่อน

ที่จะเลือกใช้ ซึ่งเราจะขอแนะนำว่า ควรที่จะให้ความสำคัญกับเทคนิคการผลิตของแต่ละแบบเพื่อที่จะได้เทียบราคาได้อย่างถูกต้องและได้ป้ายที่เหมาะสมกับราคาจริงๆ 

ก่อนอื่น ขอแนะนำรูปแบบการผลิตป้ายที่นิยมกันมากๆ ก่อน ซึ่งเราจะอธิบายคร่าวๆ เพื่อให้นำไปตัดสินใจสั่งทำป้ายได้ ดังนี้ 

  • งานตัวอักษรนูน

งานรูปแบบตัวอักษรนูน จะเป็นรูปแบบที่มีราคาสูงที่สุด เป็นงานป้ายที่ใช้ตัวอักษรที่ผลิตจากแผ่นอะคริลิคผ่านการตัดหรือไดคัทด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีความเม่นยำสูง ตัวอักษรเรียบเนียน ขอบไม่ขรุขระ ด้วยขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากกว่า จึงทำให้มีราคาสูง แต่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เพราะมีความทนทานสูงใช้งานภายนอกได้เป็นอย่างดี และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก แต่มีข้อจำกัดของตัวอักษรที่ใส่จะต้องไม่เล็กจนเกินไป โดยปกติแล้วจะมีขนาดความสูงของตัวอักษรเล็กได้ไม่เกิน 1 เซนติเมตร และสีที่ใช้จะมีเพียงสีตามชาร์ตสีของแผ่นอะคริลิคเท่านั้น

  • งานพิมพ์ระบบ Print UV

มาถึงรูปแบบที่ปัจจุบันที่ได้รับความนิยมสูงสุด คืองานพิมพ์ UV หรือ UV Print เป็นรูปแบบที่มีราคาใกล้เคียงกับงานสติกเกอร์แต่ได้งานที่สวยกว่า อีกทั้งเฉดสีสามารถเลือกใช้ได้ทุกสีตาม CMYK รูปแบบนี้จะต้องใช้เครื่องพิมพ์อะคริลิคที่ทำมาเพื่อพิมพ์งานลงแผ่นอะคริลิคเท่านั้น ทำให้ตัวอักษรติดแน่นทนการขูดขีดได้อีกด้วย หมดปัญหาเรื่องตัวอักษรที่มีขนาดเล็ก ตัวอักษรขนาดเล็กที่มีความสูง เพียง 1-2 มม. ก็จะสามารถพิมพ์ได้อย่างสบายๆ ซึ่งตัวอักษรขนาดนี้งานสติกเกอร์ หรืองานตัวอักษรนูนจะไม่สามารถทำได้อย่างแน่นอน อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้สติกเกอร์เกรดต่ำอีกต่อไป

  • ป้ายงานสติกเกอร์

ถือเป็นป้ายที่มีราคาย่อยเยาที่สุด เป็นรูปแบบที่ผลิตง่ายที่สุด การสั่งงานประเภทนี้แนะนำว่าจะต้องมีความรู้เรื่องเกรดของสติกเกอร์สักนิดนึง เพื่อสอบถามร้านที่เราสั่งผลิตว่าใช้สติกเกอร์เกรดไหน เพราะมีผลต่อราคาอย่างแน่นอน บางครั้งเราอาจจะสั่งทำป้ายสติกเกอร์ได้ในราคาถูกที่สุด แต่เราจะไม่รู้เลยว่าสติกเกอร์นั้นเป็นวัสดุเกรดสูงหรือต่ำ แน่นอนว่าถ้าวัสดุเกรดสูงราคาย่อมสูงแน่นอน แต่ก็ไม่เสมอไปบางครั้งอาจจะมีการใช้วัสดุเกรดต่ำแต่ขายในราคาสูง อันนี้น่าจะเป็นสิงที่ต้องพึงระวังมากที่สุด

สนใจสอบถามรายละเอียดสั่งทำป้ายได้ที่นี่

 

3. รายละเอียดข้อความบนป้าย

รายละเอียดข้อความบนป้าย

ข้อความบนป้าย หรือ จำนวนตัวอักษรเป็นอีกส่วนประกอบสำคัญที่คนส่วนใหญ่มักจะไม่เข้าใจ การใส่รายละเอียดหรือข้อความต่างๆ ลงบนป้าย ข้อความจะต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของป้ายที่เราสั่งทำป้าย

หากต้องการตัวอักษรใหญ่ แน่นอนว่าป้ายก็จะต้องใหญ่ตาม แต่ถ้าหากเราอยากได้ป้ายที่เล็กๆ แต่ตัวอักษรใหญ่และมีความสูงตามมาตรฐาน 3-5 เซนติเมตร แน่นอนว่าตัวอักษรที่ได้จะต้องมีความผิดเพียนอย่างแน่นอน

การกำหนดข้อความบนป้ายนั้น ต้องคำนึงถึงทั้งข้อกำหนด และความสวยงาม ร่วมกัน รายละเอียดที่นิยมใส่บนป้ายนั้นจะมีดังนี้

  1. ชื่อบริษัทภาษาไทย ต้องตรงตามที่ยื่นจดทะเบียน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้การจกทะเบียน ขออนุญาตได้รับการอนุมัติถูกต้อง จึงควรดูอย่างละเอียดในเรื่องของคำ ตัวสะกด ต้องให้ตรงตามเอกสารที่ยื่นจดทะเบียน 100% ไม่สามารถมาดัดแปลงคำ หรือ ชื่อใหม่ตามความชอบ หรือความสวยงามได้
  2. ชื่อบริษัทภาษาอังกฤษ ถ้าตอนยื่นจดทะเบียน มีการยื่นชื่อบริษัทภาษาอังกฤษไปด้วย ก็จำเป็นต้องใส่ลงบนป้าย แต่ถ้าหากตอนยื่นจดทะเบียนไม่ได้ใส่ชื่อบริษัทภาษาอังกฤษ ก็สามารถเลือกได้ว่าจะใส่ หรือไม่ใส่ก็ได้ แนะนำให้ตรวจสอบเอกสารยื่นจดทะเบียนให้เรียบร้อยก่อนสั่งผลิต

TIPS : การจัดวางชื่อบริษัทภาษาไทย ภาษาอังกฤษ บนป้ายบริษัท การนำชื่อบริษัทภาษาไทยขึ้นไว้ด้านบน และ ชื่อบริษัทภาษาอังกฤษไว้ด้านล่าง จะเสียภาษีถูกกว่า การนำชื่อบริษัทภาษาอังกฤษไว้ด้านบน และ ชื่อบริษัทภาษาไทยไว้ด้านล่าง

      ตามมาตรฐาน จะไม่ได้กำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องใส่ที่อยู่ลงบนป้ายหรือไม่ ส่วนมากที่ทราบกันคือ ถ้าบริเวณที่ติดตั้งป้าย สามารถมองเห็นบ้านเลขที่ชัดเจน ก็ไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดที่อยู่ เรื่องจากจะมีผลกับราคาของป้าย หรือหากท่านใดต้องการใส่รายละเอียดที่อยู่ ก็สามารถเลือกได้ 2แบบ

  • ใส่เฉพาะบ้านเลขที่ เช่น 5/888 ไว้ตรงมุมขวาล่าง ซึ่งก็เพียงพอ
  • ใส่รายละเอียดที่อยู่แบบเต็ม เช่น 5/888 ม.8 ต.บางทุ่งนา อ.บางน้ำผึ้ง จ.ราชบุรี 12323

      ซึ่งจำนวนตัวอักษรที่เราจะใส่ลงไปมีผลต่อขนาดของป้าย หากเราใส่ที่อยู่แบบเต็ม จะมีผลต่อขนาด และราคาของป้าย จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่  ข้อความที่ยาวจะทำให้ตัวอักษรเล็กลง มองให้เหมือนกับเราจะพยายามบีบข้อความให้ใส่ลงบนป้ายในขนาดที่เรากำหนดเท่านั้น

จึงทำให้บางครั้งทำให้สัดส่วนของตัวอักษรผิดเพี้ยนไป เช่น  เราต้องการสั่งผลิตป้ายขนาด 40×15 cm และต้องการตัวอักษรขนาดความสูง 5 cm โดยมีข้อความ บริษัท ไดคัท เน็ตเวร์ค โซลูชั่น จำกัด จะเห็นได้ว่าข้อความบนป้ายมีความยาวมาก

ถ้าต้องการให้ข้อความนั้นใส่ลงบนป้ายขนาดที่ยาวเพียง 40 cm นั้น แทบจะเป็นไปได้ยากแล้ว แล้วยังต้องทำให้ตัวอักษรมีความสูงถึง 5 cm อีก คงจะทำให้ตัวอักษรมีขนาดเล็กมาก

ดังนั้น การใส่ข้อความลงบนป้ายก็ควรคำนึงถึงขนาดที่ต้องการและ จำนวนตัวอักษรด้วยจะทำให้ป้ายของเราดูสมส่วนมากยิ่งขึ้น  ศึกษาเพิ่มเติมจากบทความนี้ต่อ ขนาดตัวอักษร สำหรับป้ายอะคริลิค

สนใจสอบถามรายละเอียดสั่งทำป้ายได้ที่นี่

 

4. รูปแบบฟ้อนตัวอักษร

เลือกฟ้อนสำหรับตัวอักษร

รูปแบบของตัวอักษรหรือ การเลือกใช้ฟ้อนสำหรับป้ายของเรา ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งโดยปกติเราจะเลือกใช้ฟ้อนมาตรฐาน ซึ่งหากเป็นป้ายที่เป็นชื่อบริษัท ส่วนใหญ่จะใช้เป็นฟ้อนที่มีหัว เอาว่าเราจะยกตัวอย่างมาให้สัก 3 ฟ้อน คือ Font : Sarabun , Font : Angsana และ Font : MN Paethai  เลือกใช้กันได้เลยจ้า

ตัวอย่าง รูปแบบตัวอักษร

นอกจากนี้ เรายังสามารถหาได้จากเวปทั่วไปได้อีกด้วย ซึ่งมีให้เลือกมากกว่า 10,000 แบบเลยทีเดียว เช่น www.dafont.com แต่ถ้าเป็นฟ้อนมาตรฐานเราต้องที่นี่เลย Google Fonts แต่ถ้าหากต้องการฟ้อนที่เป็นรูปแบบเฉพาะ หรือ หากต้องการรูปแบบที่มีลักษณะพิเศษ เราก็สามารถเลือกโดยทำตามคู่มือนี้ได้เลย คู่มือเลือกฟ้อนสวยๆ สำหรับตัวอักษรอะคริลิค

สนใจสอบถามรายละเอียดสั่งทำป้ายได้ที่นี่

 

5. เลือกสีตัวอักษรและพื้นหลัง

เลือกสีพื้นหลังและสีตัวอักษร

ขั้นตอนสุดท้ายคือการเลือกสี โดยปกติจะต้องมีการเลือกสีพื้นหลังและสีของตัวอักษร โดยจะแต่ละสีจะมีความหนาที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ก็จำเป็นจะต้องรู้ถึงความหนาของแต่ละสีโดยทางเราได้สรุปมาให้แล้ว ดังนี้

สีพิเศษ จะเป็นอะคริลิคที่มีสีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น สีทองกระจก หรือ สีประมายเพชร สีนี้จะเป็นสีที่มีความหนาเพียง 2 มม. เท่านั้นจึงไม่ค่อยเหมาะกับการนำไปใช้ในงานพื้นหลั้ง เว้นแต่ป้ายขนาดเล็กที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 30 cm ก็สามารถนำไปใช้ได้

สีธรรมดา คือสีพื้นฐาน เช่น สีขาว น้ำเงิน เขียว ดำ เป็นต้น พื้นหลังควรเลือกความหนาไม่น้อยกว่า 3 มม.ขึ้นไปโดยจะมีทุกโทนสีให้เลือกใช้ แต่ถ้าหากต้องการความหนามากกว่านี้ จะมีเพียงบางสีเท่านั้นที่ทางโรงงานผลิตมา เช่น สีขาว สีดำ และ สีใส ที่จะมีความหนาให้เลือกมากกว่า โดยจะมีตั้งแต่ 1-10 มม. เลยทีเดียว

แนะนำให้อ่านต่อ : สีพื้นหลังป้าย ยอดนิยม

หลังจากที่เราพอจะมีความรู้สำหรับสีของพื้นหลังป้ายกันไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการเลือกสีของตัวอักษรที่อยู่บนป้าย ซึ่งแต่ละแบบจะมีการเลือกใช้สีที่แตกต่างกัน โดยแบ่งตามลักษณะงานที่จะผลิต โดยจะมี 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. งานตัวอักษรนูน จะเป็นการตัดตัวอักษรจากแผ่นอะคริลิคด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยตัดเป็นตัวอักษรตามข้อความต่างๆ โดยสีตัวอักษรก็คือสีของแผ่นอะคริลิคนั่นเอง แต่ถ้าหากเราต้องการสีที่เฉพาะทาง หรือ สีที่มีการไล่สีต่างๆ งานตัวอักษรนูนจะทำไม่ได้ เราอาจจะต้องใช้เป็นงานพิมพ์ระบบ UV จะดีกว่า
  2. งานพิมพ์ UV Print เป็นรูปแบบใหม่ที่ใช้เครื่องพิมพ์ Inkjet ในการพิมพ์สีลงแผ่นอะคริลิคโดยตรง ไม่ใช่ใช่งานสติกเกอร์นะครับ ลักษณะงานจะเหมาะกับตัวอักษรที่มีขนาดเล็กที่ไม่สามารถตัดเป็นตัวอักษรนูนได้ อีกทั้งยังสามารถพิมพ์เป็นรูป หรือโลโก้ได้เลย ทำให้สะดวกในการทำงานได้อย่างมาก และเป็นที่นิยมในหมู่งานป้ายในปัจจุบัน แนะนำให้ดูตัวอย่างงานพิมพ์ UV ได้ที่นี่ ป้ายพิมพ์ UV

นอกจากเรื่องการกำหนดสีให้กับตัวอักษรแล้ว คำถามต่อมาก็คือ ใครจะเป็นออกแบบ หรือ ทำไฟล์งานให้ เราต้องขออธิบายว่า โดยทั่วไปแล้วถ้าเรามีการจ้างออกแบบมาแล้ว เราจะได้ไฟล์งานที่เป็นนามสกุล Ai หากเราไม่ได้มีรายละเอียดเฉพาะมากนัก เพียงแต่ใช้ตัวอักษรที่เป็นแบบมาตรฐาน ทางร้านทำป้ายก็สามารถช่วยทำแบบให้ได้ แต่ที่สำคัญ ควรจะต้องมีแบบให้ยืนยันก่อนสั่งผลิต ทุกครั้งเพื่อลดความผิดพลาดของการทำงาน

ถ้าหากเรามีทีมงานที่ทำการออกแบบได้ก็สามารถส่งเป็นไฟล์ Ai ให้ทางร้านเพื่อนำมาผลิตได้ ซึ่งแบบนี้อาจจะทำให้งานเสร็จได้รวดเร็ว และ ลดความผิดพลาดของทางร้านได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ถ้ามีไฟล์ให้ทางร้านก็จะสะดวกกว่า แต่ถ้าไม่มีทางร้านอาจจะช่วยได้แต่การออกแบบคงเป็นแบบพื้นฐานให้นั้นเอง

สนใจสอบถามรายละเอียดสั่งทำป้ายได้ที่นี่

 

สรุป

การสั่งทำป้ายที่นำไปใช้งานนั้น ควรจะต้องดูขนาดที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานก่อน เพื่อที่จะแจ้งให้ทางร้านทำป้ายทราบว่า เราต้องการขนาดป้ายเท่าไหร่ ส่วนสำคัญต่อมาคือ การเลือกแบบงานผลิต โดยส่วนใหญ่เราจะเน้นที่ราคาก่อนเลย แต่อย่าลืมว่า ขอดีของถูกก็มักจะมีข้อจำกัด และข้อเสียเช่น กัน ดังนั้นควรที่จะพิจารณาระบบงานให้เหมาะสมกับการใช้งานจะดีที่สุด นอกจากนี้ เราจะต้องดูข้อความที่จะนำไปใส่ในป้าย ซึ่งเราสามารถเลือกรูปแบบตัวอักษรได้ตามต้องการ รวมไปถึงการเลือกใช้สีให้สื่อกับธุรกิจของเรา แต่ก็ต้องคำนึงถึงคู่สีที่เหมาะสม เมื่อนำไปใช้งานแล้วควรจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน และข้อความจะต้องอ่านง่าย เหมาะกับการนำไปใช้ให้เปิดประโยชน์มากที่สุด นั้นเอง

สนใจสั่งทำป้ายราคาถูก ติดต่อเราได้ทันที